ว่าด้วยเรื่องเฟดและรองทรง


- โดยความหมายเข้าใจง่ายๆ เฟด (FADE) คือการตัด (หรือไถ) ไล่ระดับผมด้านข้างและด้านหลังตั้งแต่จุดหนึ่งของเส้นผมไปจนต้นคอ จะไล่ลงให้เห็นหนังศีรษะขาวๆ มากขึ้น หรือไล่ขึ้นจนเชื่อมกับความยาวเส้นผมก็ตาม ความสวยงามกันที่ฝีมือการไถไล่ระดับสั้นยาวให้ “กลืน” และสำคัญไม่แพ้กันคือการอ่านขาดถึงรูปศีรษะ สันกราม โครงหน้าลูกค้าว่าเหมาะกับการเฟดแบบไหน สั้นยาวแค่ไหนจึงจะช่วยแก้รูปศีรษะรูปโครงหน้าของลูกค้าได้ คุณก็รู้ว่าผมทรงเดียวกันไม่ได้ดีสำหรับทุกคน


- ความอิสระในการไล่ขึ้นลงนี่เองที่ทำให้เฟดกลายเป็นผมทรงยอดฮิต เพราะสามารถทำให้เหมาะได้กับทุกโครงหน้าทุกบุคลิกตั้งแต่สายสุภาพบุรุษไปจนถึงสายฮิปฮอป ถามว่าทำไม คงเพราะมันได้รับการยอมรับและความคุ้นเคยมาจากทุกวงการตั้งแต่เก่าก่อน


- จุดเริ่มต้นของการเฟดมาจากทรงผมในกองทัพอเมริกายุค 40-50s จากภาพลักษณ์ของความกล้าหาญ เมื่อมาถึงยุค 80s ที่ชาวแอฟริกัน-อเมริกันเริ่มมองหาผมทรงอื่นที่นอกเหนือจากแอฟโฟร (Afro) และให้บังเอิญผมแนวเฟดก็เข้าไปในบาร์เบอร์แห่งหนึ่งของคนกลุ่มนี้ เฟดสไตล์จึงเริ่ม แพร่หลายในวัฒนธรรมฮิปฮอปมากขึ้นเรื่อยๆ และแทบจะกลายเป็นซิกเนเจอร์เมื่อศิลปินฮิปฮอปในยุคนั้นทยอยกันตัดผมแนวเฟด อาทิ flattop. Before Cameo, Big Daddy Kane, Eric B & Rakim


- ฮิปฮอปนั้นชัดเจนแข็งแรงตั้งแต่ดนตรี การแต่งตัว จนถึงทรงผม ดังนั้นเมื่อวงการดนตรียิ่งแพร่หลาย Hi-Top Fade ก็กลายเป็นเทรนด์ในยุคต้น 90 เมื่อบรรดาคนดังฝั่งฮิปฮอปตัดผมทรงนี้กันใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Nas, Kanye West, Usher, will. i. am., and Kendrick Lamar จนมาถึงยุค 2000 ที่ Hi-Top Fade เริ่มลดความนิยมลงและกลายเป็นแนว Taper มากขึ้น ประจวบกับวัฒนธรรม K-Pop ก็เริ่มแพร่หลาย ไอดอลเกาหลี wannabe ตัดผมดูดีในสารพัดเฟดจนกลายเป็นรูปตัวอย่างให้หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ยื่นให้บาร์เบอร์ดู


- ส่วนผมเฟดที่เข้ามาในประเทศไทย ถ้าไม่นับว่ามาจากไอดอลเกาหลี เราก็ตัดกันมาตั้งแต่เป็นนักเรียน ที่เรียกกันว่า “รองทรง” ซึ่งเริ่มถือกำเนิดในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อทีมทูตและข้าราชบริพารไทยตามเสด็จฯ สิงคโปร์ ผมทรง “มหาดไทย” ที่เราบังคับตัดกันมาตลอดก็กลายเป็นที่หัวเราะขบขันของฝรั่ง เป็นที่มาในการเปลี่ยนแปลงทรงผมมาตรฐานให้ข้าราชการไทยสามารถเลือกได้ ว่าจะยังตัดทรงมหาดไทย หรือจะตัดทรงแบบฝรั่ง ซึ่งตรากฎหมายที่บังคับใช้จะเรียกว่า “ฉบับหลวง” ส่วนพระราชโองการเรื่องทรงผมนี้เป็นการอนุญาตแบบไม่ได้บังคับ จึงอยู่ใน “ฉบับรองทรง” สันนิษฐานว่าเป็นชื่อเรียกทรงแบบฝรั่งนี่ว่าทรงผมแบบ “รองทรง” ไปโดยปริยาย


(cr. “รองทรง” เรียบเรียงจาก FB เด็กภาษาไทยขอใช้ประโยคแทรก)

FACEBOOK: XILDA
FACEBOOK: SEREECHAI BEAUTY
#xilda
#xildahairclipper
#xildathemasterofblade
#xildathailand
#ซิลด้า
#sereechaibeauty