บททดสอบหัวใจช่างมือใหม่จากใจรุ่นพี่ 02
บททดสอบหัวใจช่างมือใหม่จากใจรุ่นพี่ 02
ตามที่บอกว่าจากการไปสัมภาษณ์ทำซีรีส์ชุด BARBERS SHARE นั้น ได้ทิปส์ดีๆ จากบาร์เบอร์รุ่นพี่มาเยอะมาก ทยอยลงตั้งแต่เดือนที่แล้วมาจนเดือนนี้ ถือว่าเป็นการเรียกน้ำย่อยก่อนที่คลิปตัวจริงจะลง แล้วมาคอยดูกันนะครับว่าข้อคิดไหนได้มาจากบาร์เบอร์ท่านไหน
- การใฝ่รู้ ไม่หยุดพัฒนา
- “พอมีอินเตอร์เน็ต ผมก็ได้เรียนรู้จากในยูทูปเยอะมาก..ผมชอบเรียนรู้การตัดผมจากดาราฮอลลีวู้ด ว่าเขาตัดทรงอะไร แล้วเอามาศึกษาดู ลองตัดดูว่าทรงนี้ต้องตัดยังไง”
- บาร์เบอร์รุ่นพี่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสมัยนี้การหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองนั้นง่ายมาก แค่เข้า YouTube ก็เห็นอะไรใหม่ๆ มากมาย
- แต่อย่างหนึ่งที่อยากบอกคืออย่าดูถูกความรู้ของคนอื่น ในทางกลับกัน แทนที่จะดูถูกหรืออิจฉา ก็ชื่นชมและเรียนรู้จากเขาดีกว่า “ผมอายุมากกว่า ตัดผมมานานกว่าก็ยังชอบคุยกับช่างใหม่ๆ แต่ละคนก็มีประสบการณ์มีความถนัดที่ต่างกัน ยิ่งได้เรียนรู้จากหลายคน เราก็ยิ่งเก่ง”
- ที่สำคัญ อย่าดูถูกความรู้ในยุคเดิม เพราะนั่นคือพื้นฐาน ช่างรุ่นนี้ที่เก่งๆ หลายท่าน เรียกว่าได้เปรียบเพราะได้เรียนรู้เทคนิคดั้งเดิมเป็นพื้นฐานที่ดี และได้เติมประสบการณ์เทคนิคใหม่ๆ
- ใจเย็นๆ
- “อย่าเพิ่งใจร้อนเปิดร้าน ฝึกฝนมากๆ ทำซ้ำๆ ให้เกิดความชำนาญก่อน” ลูกค้าให้โอกาสเราพลาดได้ครั้งเดียว และจะไม่กลับมาอีกเลย ดังนั้น ต้องแน่ใจให้มาก ว่าฝีมือเราดีแล้วจริงๆ
- “ผมหาประสบการณ์อยู่ประมาณ 10 ร้าน ถึงจะมาเปิดของตัวเอง”...“ผมใช้เวลา 3 ปี นั่นคือเวลาที่มั่นใจว่า ไม่ว่าผมแบบไหนเข้ามา ผมก็ตัดให้ดูดีได้”
- สำหรับคนที่อยากทำธุรกิจ ความใจเย็นไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัว แต่ทั้งกับเพื่อนร่วมงาน กับลูกน้อง กับลูกค้า และผลประกอบการ
- “...เราต้องเชื่อมั่นและเฝ้ารอในสิ่งที่เราลงมือทำ”... “เหมือนต้นมะม่วง ถ้าคุณใส่ใจดูแล ให้ปุ๋ย มันก็ออกมาเจริญงอกงามดี ธุรกิจก็เหมือนกัน ค่อยๆ ดูแลใส่ใจ มันก็จะค่อยๆ ดี”
- วินัย ความรับผิดชอบ
- “ถามตัวเองว่าเราตัดผมให้ตัวเอง หรือตัดให้ลูกค้า ถ้าลูกค้าแฮปปี้ คืองานจบ”
- ตัดผมเป็นงานศิลปะก็จริง แต่ก็เป็นงานบริการ ความรับผิดชอบสูงสุดในงานบริการคือการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
- ความรับผิดชอบสำหรับบาร์เบอร์ในมุมมองของหลายๆ ท่านคือลูกค้าต้องมีความสุขเมื่อเดินออกจากร้าน เขาคิดว่าตัวเองดูดีขึ้น มั่นใจขึ้น ซึ่งมาจากการใส่ใจในรายละเอียดของเรา และทำงานสุดความสามารถไม่ว่าจะหัวใครก็สำคัญทุกหัว
- มนุษยสัมพันธ์ - การพูดคุย
- “บางคนฝีมือดี แต่พูดไม่เป็นก็ทำงานยาก” เพราะถ้าลูกค้าไม่ได้รู้สึกสบายใจที่จะคุยด้วย บางทีเราก็จะไม่ได้รับรู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ลงท้ายด้วยการตัดแล้วไม่ถูกใจ
- การพูดเป็นไม่ได้แปลว่าต้องประจ๋อประแจ๋ แต่พูดด้วยความเป็นตัวเราที่อยากทำให้เขาสบายใจ พูดเพื่ออธิบายว่าสิ่งนี้เหมาะหรือไม่เหมาะกับบุคลิกเขาอย่างไร
- แม้กระทั่งเมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเข้าใจผิด ก็คำพูดนี่แหละ ที่จะบอกเหตุผลว่าทำแบบนี้ดูดีกว่า ความเชื่อมั่น และกลับออกไปด้วยความสบายใจ นั่นคือสิ่งที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาร้าน
FACEBOOK: @xilda
#xilda
#xildahairclipper
#xildathemasterofblade
#xildathailand
#ซิลด้า
#sereechaibeauty